
โรคมะเร็งเต้านมเกิดได้อย่างไร?
สาเหตุ ที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ เกิดจากมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งชนิดถ่ายทอดได้ ชนิดไม่ถ่ายทอด และ มีปัจจัยเสริม จากสิ่งแวดล้อม เช่น อาจจาก อาหาร สารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม การไม่ให้นมลูก และอายุที่มากขึ้น เป็นต้น
ผู้ชายเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ไหม? และ เหมือนในผู้หญิงไหม?
ผู้ชาย เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ แต่ โอกาสเกิดน้อยกว่าในผู้หญิงประมาณ ๑๐๐ เท่า ปัจจุบัน ยังไม่ทราบชัดเจนถึงธรรมชาติของโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งอนุโลมว่า น่าเหมือนในผู้หญิง ทั้งสาเหตุ อาการ วิธีตรวจ ระยะโรค วิธีรักษา และอัตราอยู่รอด
โรคมะเร็งเต้านมเป็นกรรมพันธุ์ไหม?
โรค มะเร็งเต้านมในผู้ป่วยบางราย เป็นกรรมพันธุ์ชนิดถ่ายทอดได้ ซึ่งมักเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า ๔๐ ปี และมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งทั้ง ๒ เต้านมได้สูงถึงประมาณร้อยละ ๕๐-๘๐ แต่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ปัจจัยเสี่ยง น่ามาจากพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆดังกล่าวแล้ว
โรคมะเร็งเต้านมพบได้บ่อยไหม?
โรคมะเร็งเต้านมจัดเป็นโรคมะเร็งพบได้บ่อยในผู้หญิง ในประเทศไทย จากการศึกษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข รายงานในปี ๒๐๑๐ พบโรคมะเร็งเต้านมสูงเป็นลำดับที่ ๑ ของมะเร็งในผู้หญิงไทย ซึ่งเช่นเดียวกับสถิติจากประเทศในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
โรคมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มักเกิดเมื่อ อายุ ๕๐ ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ตั้งแต่ในอายุยังน้อย ๓๐-๔๐ ปี ส่วนในอายุต่ำกว่า ๓๐ ปีพบได้น้อยมาก
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งเต้านม?
แพทย์ วินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งเต้านม ได้จาก พบก้อนเนื้อในเต้านม อาจจากการคลำ หรือ จากการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม หรือ ตรวจเต้านมด้วยเอกซเรย์ ที่เรียกว่า แมมโมแกรม (mammogram) ดังนั้นในผู้หญิงทุกคน แพทย์จึงมักแนะนำให้รู้จักการตรวจเต้านมด้วยตนเองสม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อตรวจพบก้อนเนื้อ แพทย์จะให้การวินิจฉัยที่ให้ผลแน่นอน คือ การเจาะ/ดูด และ/หรือการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา
ก้อนเนื้อในเต้านมเป็นมะเร็งทั้งหมดใช่ไหม?
ก้อนเนื้อส่วนใหญ่ที่คลำพบได้ในเต้านม มักเป็นเนื้องอกธรรมดา เช่น ถุงน้ำ (cyst) หรือ ที่เรียกว่า ไฟโบรอดีโนมา (fibroadenoma) พบเป็นก้อนเนื้อมะเร็งเป็นส่วนน้อย โดยเฉพาะในวัยก่อนอายุ ๕๐ ปี แต่อย่างไรก็ตาม ก้อนเนื้องอกธรรมดา หรือ ซีสมีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น เมื่อคลำพบก้อนเนื้อ จึงควรรีบพบแพทย์เสมอ
มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมทั้งสองข้างไหม?
ผู้ ป่วยทุกคนมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมทั้งสองข้างได้ ประมาณร้อยละ ๕ แต่ถ้าสาเหตุของโรคเกิดจากพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้ โอกาสเกิดเป็นมะเร็งเต้านมทั้งสองข้างสูงขึ้นได้ถึงประมาณ ร้อยละ ๕๐-๘๐
ป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างไร?
ใน ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้เต็มร้อย เพียงแต่ให้พยายามเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากสารก่อมะเร็ง แต่ในปัจจุบันมีวิธีตรวจที่มีประสิทธิภาพให้พบโรคได้ในระยะเริ่มเป็น(การ ตรวจคัดกรอง)
มีวิธีตรวจให้พบโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่แรกเป็นไหม?
วิธีตรวจให้พบโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่ในระยะเริ่มเป็น/ระยะแรก ซึ่งเรียกว่าการตรวจคัดกรอง ประกอบด้วย ๓ วิธีการหลัก ได้แก่
การคลำเต้านมตนเอง เพื่อตรวจคลำหาก้อนเนื้อผิดปรกติ เป็นประจำสม่ำเสมอตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ ( ซึ่งเริ่มตรวจได้ด้วยตนเองตั้งแต่ เมื่อเข้าใจ และสามารถทำตามที่แพทย์/พยาบาลสอนได้)
การพบแพทย์ตรวจร่างกายประจำปี โดยให้แพทย์เป็นผู้ตรวจคลำหาก้อนในเต้านม และ
การตรวจแมมโมแกรม (ในประเทศไทยนิยมตรวจร่วมกับการตรวจด้วยอัลตราซาวด์) ซึ่งโดยทั่วไป แนะนำให้เริ่มตรวจเมื่ออายุ ๕๐ ปี และเมื่อการตรวจแมมโมแกรม/อัลตรสซาวด์พบว่า ปรกติ อาจตรวจซ้ำทุก ๑- ๒ ปี แต่ถ้าตรวจพบผิดปรกติ แพทย์จะแนะนำการตรวจ/รักษา แต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
เป็นโรคมะเร็งเต้านมแล้วมีลูกได้ไหม?
ถ้า ผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านม แต่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ภายหลังเมื่อรักษาโรคมะเร็งหายแล้ว และต้องการมีบุตร แพทย์มักแนะนำให้ ชะลอการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย ๒ ปีนับจากหลังครบการรักษา ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีผลกระทบต่อการเกิดโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ และเพื่อลดโอกาสเกิดความพิการของทารกในครรภ์ อันอาจเป็นผลมาจากเคมีบำบัด และ/หรือ รังสีรักษา และ/หรือ ยาฮอร์โมน
โรคมะเร็งเต้านมมีกี่ชนิด?
โรคมะเร็งเต้านม มีหลายชนิด และแต่ละชนิดมีความรุนแรงโรคต่างกัน แต่ทุกชนิดมีวิธีการตรวจ รักษา คล้ายคลึงกัน
โรคมะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ?
โรค มะเร็งเต้านม มี ๔ ระยะ (บางระยะอาจแบ่งเป็นระยะย่อย ซึ่งแพทย์โรคมะเร็งใช้เป็นข้อบ่งชี้ทางการรักษา จึงไม่กล่าวถึงให้ยุ่งยาก) ได้แก่
ระยะที่ ๑ ก้อนเนื้อมะเร็งขนาดโตไม่เกิน ๒ ซม.
ระยะที่ ๒ ก้อนเนื้อมะเร็ง ขนาดโตไม่เกิน ๕ ซม. อาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้ไม่เกิน ๓ ต่อม หรือ ก้อนเนื้อมะเร็งโตเกิน ๕ ซม. แต่ยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้
ระยะที่ ๓ ก้อนมะเร็งแตกเป็นแผล และ/หรือลุกลามเข้ากล้ามเนื้อ อก และ/หรือลุกลามเข้าผิวหนัง และ/หรือมีการอักเสบเกิดจากตัวโรคมะเร็ง และ/หรือ มีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้มากกว่า ๓ ต่อมขึ้นไป
ระยะที่ ๔ มีการแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด/โลหิตไปอวัยวะอื่น เช่น ไปปอด ตับ กระดูก และ/หรือ สมอง หรือแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองซึ่งอยู่ไกลออกไป เช่น ต่อมน้ำเหลืองในช่องอก เป็นต้น
นอกจากนั้น โรคมะเร็งยังแบ่งเป็น ระยะ ๐ ซึ่งเป็นระยะที่เซลล์มะเร็งยังไม่มีการลุกลาม โรคอยู่เฉพาะในเยื่อบุภายใน ซึ่ง เป็นระยะที่โอกาสรักษาหายขาดสูงถึงประมาณร้อยละ ๘๐-๙๐
โรคมะเร็งเต้านมรักษาอย่างไร?
วิธี รักษาหลัก ของโรคมะเร็งเต้านม คือ การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา และ ยาฮอร์โมน ส่วนยารักษาตรงเป้า (ซึ่งยายังมีราคาสูงมาก เกินกว่าผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงได้) ยังอยู่ในการศึกษา แต่ได้มีการนำมาใช้ในประเทศไทยแล้ว
โดยทั่วไป การรักษาโรคมะเร็งใช้หลายวิธีการร่วมกัน ขึ้นกับหลายๆปัจจัย ที่สำคัญได้แก่ ระยะโรค ชนิดเซลล์มะเร็ง ชนิดของการผ่าตัด อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้ประเมิน และ แนะนำวิธีรักษา
ทำไมผู้ป่วยบางคนได้กินยาฮอร์โมน บางคนไม่ได้กิน?
ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มซึ่งตอบสนองต่อยาฮอร์โมน และ กลุ่มซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาฮอร์โมน
แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มใด ด้วยการตรวจพิเศษหาการจับฮอร์โมนในเนื้อเยื่อมะเร็ง โดยเป็นการตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่ง ผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งจับฮอร์โมนเท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์จากการรักษาต่อเนื่องด้วยยาฮอร์โมน ดังนั้นแพทย์จึงให้การรักษาด้วยยาฮอร์โมนเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็ง จับฮอร์โมน
โรคมะเร็งเต้านมรักษาหายขาดไหม?
โรค มะเร็งเต้านมมีโอกาสรักษาได้หาย แต่ทั้งนี้ขึ้นกับ ระยะโรค ชนิดเซลล์มะเร็ง การตอบสนองต่อยาฮอร์โมนของเซลล์มะเร็ง การตอบสนองของผู้ป่วยต่อยาเคมีบำบัด และ รังสีรักษา อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย
หลังผ่าตัดเต้านมออกแล้ว ทำผ่าตัดเสริมให้กลับมีเต้านมใหม่ได้ไหม?
การ ผ่าตัดทำศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อทดแทนเต้านมเดิมที่ถูกตัดไป สามารถทำได้แต่เฉพาะในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกคน เพราะขึ้นกับหลายปัจจัย โดยเฉพาะระยะของโรคมะเร็ง และยังจัดเป็นการผ่าตัดที่ยุ่งยาก ซับซ้อน อาจต้องทำผ่าตัดซ้ำหลายครั้ง หลายขั้นตอน และผลของความสวยงามหลังการทำศัลยกรรมตกแต่งอาจต่ำกว่าที่ผู้ป่วยคาดหวัง ซึ่งถ้าผู้ป่วยสนใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคมะเร็งของผู้ป่วย
โรคมะเร็งเต้านมเกิดได้อย่างไร?
สาเหตุ ที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ เกิดจากมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งชนิดถ่ายทอดได้ ชนิดไม่ถ่ายทอด และ มีปัจจัยเสริม จากสิ่งแวดล้อม เช่น อาจจาก อาหาร สารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม การไม่ให้นมลูก และอายุที่มากขึ้น เป็นต้น
ผู้ชายเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ไหม? และ เหมือนในผู้หญิงไหม?
ผู้ชาย เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ แต่ โอกาสเกิดน้อยกว่าในผู้หญิงประมาณ ๑๐๐ เท่า ปัจจุบัน ยังไม่ทราบชัดเจนถึงธรรมชาติของโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งอนุโลมว่า น่าเหมือนในผู้หญิง ทั้งสาเหตุ อาการ วิธีตรวจ ระยะโรค วิธีรักษา และอัตราอยู่รอด
โรคมะเร็งเต้านมเป็นกรรมพันธุ์ไหม?
โรค มะเร็งเต้านมในผู้ป่วยบางราย เป็นกรรมพันธุ์ชนิดถ่ายทอดได้ ซึ่งมักเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า ๔๐ ปี และมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งทั้ง ๒ เต้านมได้สูงถึงประมาณร้อยละ ๕๐-๘๐ แต่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ปัจจัยเสี่ยง น่ามาจากพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆดังกล่าวแล้ว
โรคมะเร็งเต้านมพบได้บ่อยไหม?
โรคมะเร็งเต้านมจัดเป็นโรคมะเร็งพบได้บ่อยในผู้หญิง ในประเทศไทย จากการศึกษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข รายงานในปี ๒๐๑๐ พบโรคมะเร็งเต้านมสูงเป็นลำดับที่ ๑ ของมะเร็งในผู้หญิงไทย ซึ่งเช่นเดียวกับสถิติจากประเทศในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
โรคมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มักเกิดเมื่อ อายุ ๕๐ ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ตั้งแต่ในอายุยังน้อย ๓๐-๔๐ ปี ส่วนในอายุต่ำกว่า ๓๐ ปีพบได้น้อยมาก
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งเต้านม?
แพทย์ วินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งเต้านม ได้จาก พบก้อนเนื้อในเต้านม อาจจากการคลำ หรือ จากการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม หรือ ตรวจเต้านมด้วยเอกซเรย์ ที่เรียกว่า แมมโมแกรม (mammogram) ดังนั้นในผู้หญิงทุกคน แพทย์จึงมักแนะนำให้รู้จักการตรวจเต้านมด้วยตนเองสม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อตรวจพบก้อนเนื้อ แพทย์จะให้การวินิจฉัยที่ให้ผลแน่นอน คือ การเจาะ/ดูด และ/หรือการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา
ก้อนเนื้อในเต้านมเป็นมะเร็งทั้งหมดใช่ไหม?
ก้อนเนื้อส่วนใหญ่ที่คลำพบได้ในเต้านม มักเป็นเนื้องอกธรรมดา เช่น ถุงน้ำ (cyst) หรือ ที่เรียกว่า ไฟโบรอดีโนมา (fibroadenoma) พบเป็นก้อนเนื้อมะเร็งเป็นส่วนน้อย โดยเฉพาะในวัยก่อนอายุ ๕๐ ปี แต่อย่างไรก็ตาม ก้อนเนื้องอกธรรมดา หรือ ซีสมีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น เมื่อคลำพบก้อนเนื้อ จึงควรรีบพบแพทย์เสมอ
มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมทั้งสองข้างไหม?
ผู้ ป่วยทุกคนมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมทั้งสองข้างได้ ประมาณร้อยละ ๕ แต่ถ้าสาเหตุของโรคเกิดจากพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้ โอกาสเกิดเป็นมะเร็งเต้านมทั้งสองข้างสูงขึ้นได้ถึงประมาณ ร้อยละ ๕๐-๘๐
ป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างไร?
ใน ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้เต็มร้อย เพียงแต่ให้พยายามเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากสารก่อมะเร็ง แต่ในปัจจุบันมีวิธีตรวจที่มีประสิทธิภาพให้พบโรคได้ในระยะเริ่มเป็น(การ ตรวจคัดกรอง)
มีวิธีตรวจให้พบโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่แรกเป็นไหม?
วิธีตรวจให้พบโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่ในระยะเริ่มเป็น/ระยะแรก ซึ่งเรียกว่าการตรวจคัดกรอง ประกอบด้วย ๓ วิธีการหลัก ได้แก่
การคลำเต้านมตนเอง เพื่อตรวจคลำหาก้อนเนื้อผิดปรกติ เป็นประจำสม่ำเสมอตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ ( ซึ่งเริ่มตรวจได้ด้วยตนเองตั้งแต่ เมื่อเข้าใจ และสามารถทำตามที่แพทย์/พยาบาลสอนได้)
การพบแพทย์ตรวจร่างกายประจำปี โดยให้แพทย์เป็นผู้ตรวจคลำหาก้อนในเต้านม และ
การตรวจแมมโมแกรม (ในประเทศไทยนิยมตรวจร่วมกับการตรวจด้วยอัลตราซาวด์) ซึ่งโดยทั่วไป แนะนำให้เริ่มตรวจเมื่ออายุ ๕๐ ปี และเมื่อการตรวจแมมโมแกรม/อัลตรสซาวด์พบว่า ปรกติ อาจตรวจซ้ำทุก ๑- ๒ ปี แต่ถ้าตรวจพบผิดปรกติ แพทย์จะแนะนำการตรวจ/รักษา แต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
เป็นโรคมะเร็งเต้านมแล้วมีลูกได้ไหม?
ถ้า ผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านม แต่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ภายหลังเมื่อรักษาโรคมะเร็งหายแล้ว และต้องการมีบุตร แพทย์มักแนะนำให้ ชะลอการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย ๒ ปีนับจากหลังครบการรักษา ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีผลกระทบต่อการเกิดโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ และเพื่อลดโอกาสเกิดความพิการของทารกในครรภ์ อันอาจเป็นผลมาจากเคมีบำบัด และ/หรือ รังสีรักษา และ/หรือ ยาฮอร์โมน
โรคมะเร็งเต้านมมีกี่ชนิด?
โรคมะเร็งเต้านม มีหลายชนิด และแต่ละชนิดมีความรุนแรงโรคต่างกัน แต่ทุกชนิดมีวิธีการตรวจ รักษา คล้ายคลึงกัน
โรคมะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ?
โรค มะเร็งเต้านม มี ๔ ระยะ (บางระยะอาจแบ่งเป็นระยะย่อย ซึ่งแพทย์โรคมะเร็งใช้เป็นข้อบ่งชี้ทางการรักษา จึงไม่กล่าวถึงให้ยุ่งยาก) ได้แก่
ระยะที่ ๑ ก้อนเนื้อมะเร็งขนาดโตไม่เกิน ๒ ซม.
ระยะที่ ๒ ก้อนเนื้อมะเร็ง ขนาดโตไม่เกิน ๕ ซม. อาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้ไม่เกิน ๓ ต่อม หรือ ก้อนเนื้อมะเร็งโตเกิน ๕ ซม. แต่ยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้
ระยะที่ ๓ ก้อนมะเร็งแตกเป็นแผล และ/หรือลุกลามเข้ากล้ามเนื้อ อก และ/หรือลุกลามเข้าผิวหนัง และ/หรือมีการอักเสบเกิดจากตัวโรคมะเร็ง และ/หรือ มีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้มากกว่า ๓ ต่อมขึ้นไป
ระยะที่ ๔ มีการแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด/โลหิตไปอวัยวะอื่น เช่น ไปปอด ตับ กระดูก และ/หรือ สมอง หรือแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองซึ่งอยู่ไกลออกไป เช่น ต่อมน้ำเหลืองในช่องอก เป็นต้น
นอกจากนั้น โรคมะเร็งยังแบ่งเป็น ระยะ ๐ ซึ่งเป็นระยะที่เซลล์มะเร็งยังไม่มีการลุกลาม โรคอยู่เฉพาะในเยื่อบุภายใน ซึ่ง เป็นระยะที่โอกาสรักษาหายขาดสูงถึงประมาณร้อยละ ๘๐-๙๐
โรคมะเร็งเต้านมรักษาอย่างไร?
วิธี รักษาหลัก ของโรคมะเร็งเต้านม คือ การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา และ ยาฮอร์โมน ส่วนยารักษาตรงเป้า (ซึ่งยายังมีราคาสูงมาก เกินกว่าผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงได้) ยังอยู่ในการศึกษา แต่ได้มีการนำมาใช้ในประเทศไทยแล้ว
โดยทั่วไป การรักษาโรคมะเร็งใช้หลายวิธีการร่วมกัน ขึ้นกับหลายๆปัจจัย ที่สำคัญได้แก่ ระยะโรค ชนิดเซลล์มะเร็ง ชนิดของการผ่าตัด อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้ประเมิน และ แนะนำวิธีรักษา
ทำไมผู้ป่วยบางคนได้กินยาฮอร์โมน บางคนไม่ได้กิน?
ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มซึ่งตอบสนองต่อยาฮอร์โมน และ กลุ่มซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาฮอร์โมน
แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มใด ด้วยการตรวจพิเศษหาการจับฮอร์โมนในเนื้อเยื่อมะเร็ง โดยเป็นการตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่ง ผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งจับฮอร์โมนเท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์จากการรักษาต่อเนื่องด้วยยาฮอร์โมน ดังนั้นแพทย์จึงให้การรักษาด้วยยาฮอร์โมนเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็ง จับฮอร์โมน
โรคมะเร็งเต้านมรักษาหายขาดไหม?
โรค มะเร็งเต้านมมีโอกาสรักษาได้หาย แต่ทั้งนี้ขึ้นกับ ระยะโรค ชนิดเซลล์มะเร็ง การตอบสนองต่อยาฮอร์โมนของเซลล์มะเร็ง การตอบสนองของผู้ป่วยต่อยาเคมีบำบัด และ รังสีรักษา อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย
หลังผ่าตัดเต้านมออกแล้ว ทำผ่าตัดเสริมให้กลับมีเต้านมใหม่ได้ไหม?
การ ผ่าตัดทำศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อทดแทนเต้านมเดิมที่ถูกตัดไป สามารถทำได้แต่เฉพาะในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกคน เพราะขึ้นกับหลายปัจจัย โดยเฉพาะระยะของโรคมะเร็ง และยังจัดเป็นการผ่าตัดที่ยุ่งยาก ซับซ้อน อาจต้องทำผ่าตัดซ้ำหลายครั้ง หลายขั้นตอน และผลของความสวยงามหลังการทำศัลยกรรมตกแต่งอาจต่ำกว่าที่ผู้ป่วยคาดหวัง ซึ่งถ้าผู้ป่วยสนใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคมะเร็งของผู้ป่วย