
เคมีบำบัด คือ อะไร? ทำไมเคมีบำบัด จึงรักษาโรคมะเร็งได้?
เคมีบำบัด คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยยา ซึ่งผลิตโดยการสังเคราะห์ทางเคมี เป็นยา มีคุณสมบัติฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือ หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาเคมีบำบัดบางชนิดได้มาจากพืช หรือมีคุณสมบัติทางชีวเคมีเช่นเดียวกับที่มีในพืชสมุนไพร แต่นำมาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ปริมาณมากพอที่จะใช้รักษาโรคมะเร็งให้หายได้
การ รักษาด้วยยาเคมีบำบัด ส่วนใหญ่มักเป็นการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ แต่มีวิธีการรักษาได้ทั้งยารับประทาน ยาฉีดเข้าหลอดเลือดแดง ยาฉีดเข้าทางน้ำไขสันหลัง ยาฉีดเข้าช่องท้อง หรือ ช่องปอด หรือช่อง หรือโพรงต่างๆในร่างกาย และที่กำลังอยู่ในการศึกษา คือ การฉีดยาเข้าก้อนมะเร็งโดยตรง
ใช้ยาเคมีเพียงอย่างเดียว รักษาโรคมะเร็งได้ไหม?
ในการรักษาโรคมะเร็ง จะเลือกใช้วิธีการอย่างไร ขึ้นกับการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ว่า วิธีการใด และ อย่างไร จึงจะรักษาโรคมะเร็งได้ผลดีที่สุด ดังนั้นการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งจึงมีหลายวิธีการ เช่น
- การใช้ยาเคมีบำบัดเพียงวิธีการเดียว จะใช้รักษาเฉพาะในโรคมะเร็งที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดีมาก และโรคต้องอยู่ในระยะแรก หรือระยะเริ่มเป็น เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดความรุนแรงโรคต่ำ เป็นต้น
- การใช้ยาเคมีนำก่อนการผ่าตัดหรือรังสีรักษา ทั้งนี้เพื่อให้ก้อนมะเร็งยุบ มีขนาดก้อนเล็กลดลง เพื่อช่วยให้ผ่าตัด หรือฉายรังสีได้ง่ายขึ้น มักเป็นการรักษาในโรคมะเร็งที่มีขนาดก้อนเนื้อมะเร็งใหญ่มาก และต้องเป็นโรคชนิดเซลล์มะเร็งตอบสนองต่อยาเคมีได้ดี เช่น การรักษาโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 2-3 การรักษาโรคมะเร็งปอดในระยะที่ 3 เป็นต้น
- การใช้ยาเคมีร่วมกับรังสีรักษา โดยการให้ยาไปพร้อมๆกับการฉายรังสี เช่น การรักษาโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร (เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร) หรือ การรักษาโรคมะเร็งปอดในระยะที่ 3 หรือการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะมีความรุนแรงโรคสูง หรือ ในโรคมะเร็งระบบศีรษะ/ลำคอ ในระยะที่ 3-4 (ชนิดที่ยังไม่มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด)
- การใช้ยาเคมีบำบัดตามหลังการฉายรังสี เช่น ในกรณีให้รังสีรักษาแล้วก้อนมะเร็งยุบไม่หมด เป็นต้น
ให้การรักษายาเคมีบำบัดที่บ้านได้ไหม?
โดยทั่วไป ถ้าเป็นยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน ผู้ป่วยจะรับประทานเองที่บ้านอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นการรักษาด้วยการฉีดยา มักเป็นการรักษาในโรงพยาบาล (ในต่างประทศ อาจให้การรักษาที่คลินิก หรือที่บ้านได้ โดยมีพยาบาลไปช่วยดูแลให้ที่บ้าน) โดยทั่วไป การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะเป็นคอร์ส (courses) หลายๆคอร์ส เช่น 3-6 คอร์ส แต่ละคอร์สอาจ 1 วัน หรือเป็นสัปดาห์ และแต่ละคอร์ส มักห่างกันประมาณ 3-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นกับตารางการรักษาในแต่ละโรค(ตารางการรักษา ได้จากการศึกษาทางการแพทย์ ไม่ใช่ตามแต่แพทย์กำหนดเอง)
ทำไม การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดต้องใช้ยาหลายๆชนิดร่วมกัน?
การรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้ยาเคมีบำบัดหลายๆชนิดร่วมกัน จะให้ผลการรักษาในการควบคุมโรคมะเร็งได้ดีกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียง ชนิดเดียว เพราะจะช่วยให้เซลล์มะเร็งตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่า นอกจากนั้น ยังช่วยลดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยาเคมีบำบัดลง เพราะการใช้ยาเพียงตัวเดียว จำเป็นต้องใช้ยาในปริมาณสูง
ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดมีอะไรบ้าง?
โดยทั่วไป ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ทุกชนิดจะคล้ายกัน ผลข้างเคียงที่พบเกิดได้บ่อย ได้แก่
- ผมร่วง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- การเจ็บใน ปาก คอ จากการมีเยื่อบุช่องปาก/คอ อักเสบจากตัวยาเคมีบำบัด
- ท้องเสีย จากการมีเยื่อบุลำไส้อักเสบ จากตัวยาเคมีบำบัด
- อึดอัดในท้อง จากการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปรกติจากตัวยาเคมีบำบัด
- อาการทางผิวหนัง หรือ เล็บ มีสีคล้ำ ยาบางชนิดทำให้เกิดผื่น หรือ ผิวหนังเป็นแผล พอง
- ชา ตามนิ้วมือ/เท้า
- เบื่ออาหาร เหนื่อยล้า
- การกดไขกระดูก มีเม็ดเลือดขาวต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย อาการซีดจาดเม็ดเลือดแดงต่ำ และการมีเลือดออกได้ง่ายจากเกร็ดเลือดต่ำ
จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อได้รับยาเคมีบำบัด?
เมื่อจะต้องได้รับยาเคมีบำบัด แพทย์ พยาบาลจะให้คำแนะ มีคู่มือให้อ่านเสมอ ผู้ป่วยและครอบครัวไม่ต้องกังวล ไม่ต้องกลัว ควรพูดคุยกับแพทย์/พยาบาลให้เข้าใจ/รับทราบความกลัว/ความกังวลของผู้ป่วยและ ครอบครัว ผู้ป่วย/ครอบครัว ควรซักถามให้เข้าใจ จะช่วยลดความกังวล/ความกลัวลงเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ที่ควรปฏิบัติ คือ
- พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้หลับ ถ้านอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์/พยาบาล
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง ๕ หมู่ ถ้าเบื่ออาหาร รับประทานครั้งละน้อยเท่าที่รับประทานได้ แต่รับประทานให้บ่อยขึ้น มากมื้อขึ้น งดบุหรี่ แอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำผลไม้ชนิดที่ไม่ทำให้ท้องเสีย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานน้ำแกง น้ำซุป ในกรณีท้องเสีย เพื่อลดการขาดน้ำของร่างกาย
- ถ้ายังคลื่นไส้อาเจียน ทั้งที่รับประทานยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรปรึกษาแพทย์/พยาบาล เพราะปัจจุบันมียาบรรเทาอาการเหล่านี้หลายชนิด ที่ควบคุมอาการนี้ได้ดี
- ถ้าแพทย์สั่งยา ควรต้องบริโภคยาอย่างถูกต้องตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
- ระมัดระวังอย่าให้ผิวหนัง และหนังศีรษะถูกแสงแดดโดยตรง เพราะผิวหนัง และหนังศีรษะจะไวต่อแสงแดดมากขึ้นจากตัวยาเคมีบำบัด เช่น การสวมหมวก ใส่เสื้อแขนยาว และที่ดีที่สุด คือ การใช้ร่ม
- เรียนรู้วิธีดูแลตนเองไว้ล่วงหน้า เช่น ในภาวะคลื่นไส้ ผมร่วง ภาวะซีด เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำ โดยขอรับคำแนะนำจากแพทย์/พยาบาล
- รักษาสุขอนามัย ของร่างกาย เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
- ออกกำลังกายให้พอเหมาะกับสภาพร่างกาย และ
- ถ้ามีไข้ หรือท้องเสียร่วมกับมีไข้ ควรรีบปรึกษาแพทย์/พยาบาลทันที
จะรู้ได้อย่างไรว่า มีเม็ดเลือดขาวต่ำ?
การให้ยาเคมีบำบัดจะมีผลให้มีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดต่ำเสมอ ดังนั้นผู้ป่วยต้องเตรียมตัวไว้เลย โดยทั่วไป เมื่อได้ยาเคมีบำบัด จะมีการตรวจเลือดอย่างน้อยทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวบอกถึงการมีเม็ดเลือดต่ำ
- เมื่อมีเม็ดเลือดขาวต่ำ ผู้ป่วยมักรู้สึกอ่อนเพลีย
- ถ้ามีเม็ดเลือดแดงต่ำ หรือ ซีด ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เหนื่อยล้า ผิวหนัง ใบหน้า ริมฝีปากแลดูซีด อาจมีเท้าบวม
- เมื่อเกร็ดเลือดต่ำ มักเลือดออกง่าย มีจุดแดงตามผิวหนัง หรือ ห้อเลือด
ในช่วงให้ยาเคมีบำบัด มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม?
ในช่วงระหว่างการรักษา แพทย์มักไม่ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นกับสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย แต่ในผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์ ต้องควบคุม คุมกำเนิด ต้องไม่ตั้งครรภ์ระหว่างการรักษา เพราะยาเคมีบำบัด อาจมีผลให้ทารก เกิดความพิการ จนอาจต้องทำแท้ง
มีผลข้างเคียงอะไร ที่ต้องปรึกษา แพทย์/พยาบาลด่วน หรือ ต้องมาโรงพยาบาล?
ผู้ป่วยควรต้องปรึกษา แพทย์/พยาบาล หรือ มาโรงพยาบาล เมื่อ
- ท้องเสีย ร่วมกับมีไข้
- ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำมาก ถ่ายไม่หยุด ถึงแม้จะบริโภคยาบรรเทาอาการท้องเสีย และ/หรือ ผงเกลือแร่ แล้ว
- ท้องผูกมาก /ปวดท้อง
- มีไข้สูง 38°C ขึ้นไป (ผู้ป่วยจึงต้องมีปรอทวัดไข้ และรู้จักวิธีวัดปรอท วัดปรอทสม่ำเสมอ ถ้ารู้สึกมีไข้)
- คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง หรือ เป็นเลือด
- มีเลือดออก โดยเฉพาะถ้าออกแล้วไม่หยุด และ
- อาการอื่นๆ ถ้าเป็นมาก และบรรเทาไม่ได้ด้วยการดูแลตนเอง
เคมีบำบัด คือ อะไร? ทำไมเคมีบำบัด จึงรักษาโรคมะเร็งได้?
เคมีบำบัด คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยยา ซึ่งผลิตโดยการสังเคราะห์ทางเคมี เป็นยา มีคุณสมบัติฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือ หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาเคมีบำบัดบางชนิดได้มาจากพืช หรือมีคุณสมบัติทางชีวเคมีเช่นเดียวกับที่มีในพืชสมุนไพร แต่นำมาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ปริมาณมากพอที่จะใช้รักษาโรคมะเร็งให้หายได้
การ รักษาด้วยยาเคมีบำบัด ส่วนใหญ่มักเป็นการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ แต่มีวิธีการรักษาได้ทั้งยารับประทาน ยาฉีดเข้าหลอดเลือดแดง ยาฉีดเข้าทางน้ำไขสันหลัง ยาฉีดเข้าช่องท้อง หรือ ช่องปอด หรือช่อง หรือโพรงต่างๆในร่างกาย และที่กำลังอยู่ในการศึกษา คือ การฉีดยาเข้าก้อนมะเร็งโดยตรง
ใช้ยาเคมีเพียงอย่างเดียว รักษาโรคมะเร็งได้ไหม?
ในการรักษาโรคมะเร็ง จะเลือกใช้วิธีการอย่างไร ขึ้นกับการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ว่า วิธีการใด และ อย่างไร จึงจะรักษาโรคมะเร็งได้ผลดีที่สุด ดังนั้นการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งจึงมีหลายวิธีการ เช่น
- การใช้ยาเคมีบำบัดเพียงวิธีการเดียว จะใช้รักษาเฉพาะในโรคมะเร็งที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดีมาก และโรคต้องอยู่ในระยะแรก หรือระยะเริ่มเป็น เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดความรุนแรงโรคต่ำ เป็นต้น
- การใช้ยาเคมีนำก่อนการผ่าตัดหรือรังสีรักษา ทั้งนี้เพื่อให้ก้อนมะเร็งยุบ มีขนาดก้อนเล็กลดลง เพื่อช่วยให้ผ่าตัด หรือฉายรังสีได้ง่ายขึ้น มักเป็นการรักษาในโรคมะเร็งที่มีขนาดก้อนเนื้อมะเร็งใหญ่มาก และต้องเป็นโรคชนิดเซลล์มะเร็งตอบสนองต่อยาเคมีได้ดี เช่น การรักษาโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 2-3 การรักษาโรคมะเร็งปอดในระยะที่ 3 เป็นต้น
- การใช้ยาเคมีร่วมกับรังสีรักษา โดยการให้ยาไปพร้อมๆกับการฉายรังสี เช่น การรักษาโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร (เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร) หรือ การรักษาโรคมะเร็งปอดในระยะที่ 3 หรือการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะมีความรุนแรงโรคสูง หรือ ในโรคมะเร็งระบบศีรษะ/ลำคอ ในระยะที่ 3-4 (ชนิดที่ยังไม่มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด)
- การใช้ยาเคมีบำบัดตามหลังการฉายรังสี เช่น ในกรณีให้รังสีรักษาแล้วก้อนมะเร็งยุบไม่หมด เป็นต้น
ให้การรักษายาเคมีบำบัดที่บ้านได้ไหม?
โดยทั่วไป ถ้าเป็นยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน ผู้ป่วยจะรับประทานเองที่บ้านอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นการรักษาด้วยการฉีดยา มักเป็นการรักษาในโรงพยาบาล (ในต่างประทศ อาจให้การรักษาที่คลินิก หรือที่บ้านได้ โดยมีพยาบาลไปช่วยดูแลให้ที่บ้าน) โดยทั่วไป การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะเป็นคอร์ส (courses) หลายๆคอร์ส เช่น 3-6 คอร์ส แต่ละคอร์สอาจ 1 วัน หรือเป็นสัปดาห์ และแต่ละคอร์ส มักห่างกันประมาณ 3-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นกับตารางการรักษาในแต่ละโรค(ตารางการรักษา ได้จากการศึกษาทางการแพทย์ ไม่ใช่ตามแต่แพทย์กำหนดเอง)
ทำไม การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดต้องใช้ยาหลายๆชนิดร่วมกัน?
การรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้ยาเคมีบำบัดหลายๆชนิดร่วมกัน จะให้ผลการรักษาในการควบคุมโรคมะเร็งได้ดีกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียง ชนิดเดียว เพราะจะช่วยให้เซลล์มะเร็งตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่า นอกจากนั้น ยังช่วยลดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยาเคมีบำบัดลง เพราะการใช้ยาเพียงตัวเดียว จำเป็นต้องใช้ยาในปริมาณสูง
ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดมีอะไรบ้าง?
โดยทั่วไป ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ทุกชนิดจะคล้ายกัน ผลข้างเคียงที่พบเกิดได้บ่อย ได้แก่
- ผมร่วง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- การเจ็บใน ปาก คอ จากการมีเยื่อบุช่องปาก/คอ อักเสบจากตัวยาเคมีบำบัด
- ท้องเสีย จากการมีเยื่อบุลำไส้อักเสบ จากตัวยาเคมีบำบัด
- อึดอัดในท้อง จากการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปรกติจากตัวยาเคมีบำบัด
- อาการทางผิวหนัง หรือ เล็บ มีสีคล้ำ ยาบางชนิดทำให้เกิดผื่น หรือ ผิวหนังเป็นแผล พอง
- ชา ตามนิ้วมือ/เท้า
- เบื่ออาหาร เหนื่อยล้า
- การกดไขกระดูก มีเม็ดเลือดขาวต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย อาการซีดจาดเม็ดเลือดแดงต่ำ และการมีเลือดออกได้ง่ายจากเกร็ดเลือดต่ำ
จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อได้รับยาเคมีบำบัด?
เมื่อจะต้องได้รับยาเคมีบำบัด แพทย์ พยาบาลจะให้คำแนะ มีคู่มือให้อ่านเสมอ ผู้ป่วยและครอบครัวไม่ต้องกังวล ไม่ต้องกลัว ควรพูดคุยกับแพทย์/พยาบาลให้เข้าใจ/รับทราบความกลัว/ความกังวลของผู้ป่วยและ ครอบครัว ผู้ป่วย/ครอบครัว ควรซักถามให้เข้าใจ จะช่วยลดความกังวล/ความกลัวลงเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ที่ควรปฏิบัติ คือ
- พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้หลับ ถ้านอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์/พยาบาล
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง ๕ หมู่ ถ้าเบื่ออาหาร รับประทานครั้งละน้อยเท่าที่รับประทานได้ แต่รับประทานให้บ่อยขึ้น มากมื้อขึ้น งดบุหรี่ แอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำผลไม้ชนิดที่ไม่ทำให้ท้องเสีย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานน้ำแกง น้ำซุป ในกรณีท้องเสีย เพื่อลดการขาดน้ำของร่างกาย
- ถ้ายังคลื่นไส้อาเจียน ทั้งที่รับประทานยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรปรึกษาแพทย์/พยาบาล เพราะปัจจุบันมียาบรรเทาอาการเหล่านี้หลายชนิด ที่ควบคุมอาการนี้ได้ดี
- ถ้าแพทย์สั่งยา ควรต้องบริโภคยาอย่างถูกต้องตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
- ระมัดระวังอย่าให้ผิวหนัง และหนังศีรษะถูกแสงแดดโดยตรง เพราะผิวหนัง และหนังศีรษะจะไวต่อแสงแดดมากขึ้นจากตัวยาเคมีบำบัด เช่น การสวมหมวก ใส่เสื้อแขนยาว และที่ดีที่สุด คือ การใช้ร่ม
- เรียนรู้วิธีดูแลตนเองไว้ล่วงหน้า เช่น ในภาวะคลื่นไส้ ผมร่วง ภาวะซีด เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำ โดยขอรับคำแนะนำจากแพทย์/พยาบาล
- รักษาสุขอนามัย ของร่างกาย เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
- ออกกำลังกายให้พอเหมาะกับสภาพร่างกาย และ
- ถ้ามีไข้ หรือท้องเสียร่วมกับมีไข้ ควรรีบปรึกษาแพทย์/พยาบาลทันที
จะรู้ได้อย่างไรว่า มีเม็ดเลือดขาวต่ำ?
การให้ยาเคมีบำบัดจะมีผลให้มีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดต่ำเสมอ ดังนั้นผู้ป่วยต้องเตรียมตัวไว้เลย โดยทั่วไป เมื่อได้ยาเคมีบำบัด จะมีการตรวจเลือดอย่างน้อยทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวบอกถึงการมีเม็ดเลือดต่ำ
- เมื่อมีเม็ดเลือดขาวต่ำ ผู้ป่วยมักรู้สึกอ่อนเพลีย
- ถ้ามีเม็ดเลือดแดงต่ำ หรือ ซีด ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เหนื่อยล้า ผิวหนัง ใบหน้า ริมฝีปากแลดูซีด อาจมีเท้าบวม
- เมื่อเกร็ดเลือดต่ำ มักเลือดออกง่าย มีจุดแดงตามผิวหนัง หรือ ห้อเลือด
ในช่วงให้ยาเคมีบำบัด มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม?
ในช่วงระหว่างการรักษา แพทย์มักไม่ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นกับสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย แต่ในผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์ ต้องควบคุม คุมกำเนิด ต้องไม่ตั้งครรภ์ระหว่างการรักษา เพราะยาเคมีบำบัด อาจมีผลให้ทารก เกิดความพิการ จนอาจต้องทำแท้ง
มีผลข้างเคียงอะไร ที่ต้องปรึกษา แพทย์/พยาบาลด่วน หรือ ต้องมาโรงพยาบาล?
ผู้ป่วยควรต้องปรึกษา แพทย์/พยาบาล หรือ มาโรงพยาบาล เมื่อ
- ท้องเสีย ร่วมกับมีไข้
- ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำมาก ถ่ายไม่หยุด ถึงแม้จะบริโภคยาบรรเทาอาการท้องเสีย และ/หรือ ผงเกลือแร่ แล้ว
- ท้องผูกมาก /ปวดท้อง
- มีไข้สูง 38°C ขึ้นไป (ผู้ป่วยจึงต้องมีปรอทวัดไข้ และรู้จักวิธีวัดปรอท วัดปรอทสม่ำเสมอ ถ้ารู้สึกมีไข้)
- คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง หรือ เป็นเลือด
- มีเลือดออก โดยเฉพาะถ้าออกแล้วไม่หยุด และ
- อาการอื่นๆ ถ้าเป็นมาก และบรรเทาไม่ได้ด้วยการดูแลตนเอง